วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วัดผาตากเสื้อ

วัดผาตากเสื้อ

ทะเลหมอก วัดผาตากเสื้อ
                                                                                                                                                                           วัดผาตากเสื้อ ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตบ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นสถานปฏิบัติธรรม มีจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน สามารถมองเห็นเมืองริมน้ำโขงอย่างอำเภอสังคม แม่น้ำโขงที่ไหลโค้งไปมาอย่างสง่างาม และยังสามารถมองเห็นฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน

   ปัจจุบันมีการสร้างสกายวอล์กกระจกใสแห่งแรกของเมืองไทย เป็นจุดชมวิวใหม่ของอีสาน มีลักษณะเป็นทางเดินกระจกใสที่ยื่นออกไปจากหน้าผาบริเวณวัดผาตากเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า เป็นทางเดินกระจกใสยื่นจากหน้าผาออกไป 6 เมตร สามารถรองรับน้ำหนักได้ประมาณ 20 คน เพราะใช้วัสดุอย่างดีในการก่อสร้าง และสร้างราวกั้นตลอดแนวสองด้าน อีกทั้งยังปรับปรุงภูมิทัศน์รอบด้านให้สวยงาม เพื่อให้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงสุดอันซีนแห่งใหม่ของจังหวัดหนองคายและประเทศไทยและในช่วงหน้าหนาวนี้ บริเวณสกายวอล์ก วัดผาตากเสื้อ ก็ยังปรากฏทะเลหมอกสุดอลังการ ที่ลอยคลอเคลียเหนือแม่น้ำโขง เมืองสังคม และแนวเทือกเขาของเมืองลาวอย่างงดงาม ยามเช้าจะมีแสงพระอาทิตย์สีทองสาดส่องลงสู่ทะเลหมอกสีขาวจนกลายเป็นสีทองระเรื่อ ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังยืนอยู่บนทะเลหมอกนุ่ม ๆ คล้ายกับดินแดนสวรรค์เลยทีเดียว

พระเจดีย์มหามงคลบัว

พระเจดีย์มหามงคลบัว

เจดีย์มหามงคลบัว ร้อยเอ็ด
                                                                                                                                                                                 เจดีย์มหามงคลบัว ตั้งอยู่ใน ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัวญาณ สัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด สำหรับเผยแพร่ธรรมะและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงตามหาบัว นับเป็นแลนด์มาร์คอีกหนึ่งแห่งของเมืองร้อยเอ็ดที่ใครมาจะต้องแวะมาสักการะบูชา จุดเด่นที่น่าสนใจ ของเจดีย์มหามงคลบัว คือ เจดีย์สีทองโดดเด่นกลางสวนสวยซึ่งมีการออกแบบได้เป็นอย่างดี มีสระน้ำไว้ด้านหน้าและด้านข้างเจดีย์ ทำให้เกิดภาพสะท้อนของ เจดีย์บนผิวน้ำ  เจดีย์มีความสูงพอดี และมีความเด่น เพราะอยู่บริเวณกลางทุ่งนา ทำให้สามารถมองเห็นมาจากที่ไกลๆได้ พื้นที่ของเจดีย์ กว้างใหญ่มาก ทำให้ไม่เกิดความแออัด ร่มรื่นสมกับเป็น สถานที่แห่งพลังศรัทธาของชาวพุทธเป็นอย่างดี  เจดีย์มหามงคลบัว เป็นเจดีย์ เดียวที่ได้รับอนุญาตจากท่านหลวงตาในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้มาดูการถมที่ วางศิลาฤกษ์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วย ตัวท่านเอง เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน ซึ่งขณะนั้นหลวงตา ได้จำวัดอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด และเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงตามหาบัว ทั้งยังเป็นที่เผยแพร่ธรรมะและ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของชาวพุทธเจดีย์แบ่งเป็น 4 ชั้น 

ชั้นล่างสุด  มีห้องอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไทยอีสาน ซึ่งรวบรวมเพลงพื้นบ้านไทยอีสานไว้ (เป็นดำริของหลวงตามหาบัวเอง) เก็บไว้ใน server สามารถของฟังได้ทุกเพลง  

ชั้นสอง เป็นห้องสมุด ซึ่งรวบรวมหนังสือธรรมะที่แต่งโดยหลวงตามหาบัวทั้งหมดไว้ มีทั้งสำหรับแจกและสำหรับอ่านในห้องสมุด  นอกจากนี้ยังมีห้องฟังธรรมะของหลวงตา ซึ่งรวบรวมเทศน์ของหลวงตาตั้งแต่ปี 2510 กว่าๆ จนถึงปัจจุบัน เก็บใน server สามารถรับฟังได้ทุกกัณฑ์ 

ชั้นสาม  เป็นรูปเหมือนหลวงตาและเป็นที่นั่งภาวนาสำหรับผู้ต้องการความสงบ 

ชั้นสี่ชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน รูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว และหลวงปู่หล้า โดยมีพระอัฐิธาตุของ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้กราบไหว้ด้วย 
หากเดินทางโดยรถยนต์จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ให้ใช้เส้นทางที่จะไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ขับรถตรง ไปจนถึงสี่แยกบ้านบัวให้เลี้ยวซ้าย ขับต่อไปอีกประมาณ 800 เมตร องค์เจดีย์จะอยู่ทางซ้ายมือ หากเดินทางมาจากต่างจังหวัด ให้วิ่งตามเส้นทางเลี่ยงเมืองหมายเลข 214 ไปจนถึงบริเวณสี่แยกบ้านบัว ทางออกกาฬสินธุ์ จะเห็นยอดขององค์เจดีย์อย่างชัดเจน

ผาน้ำย้อย

ผาน้ำย้อย

                                                                                                                                                                       เดิมชื่อวัดผาน้ำย้อย เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีหน้าผาสูงชัน และมีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะนำน้ำนี้ไปดื่มกินเพื่อรักษาโรคตามความเชื่อ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อวัดโดยสมบูรณ์ว่า "วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม"
ต่อมาสภาพป่าถูกทำลาย มีผู้ลักลอบตัดไม้ขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า เป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่งครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความตรึงเครียดทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และหมดไปในที่สุด
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย) ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่กว่า 28,00 ไร่  เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ชัยมงคล อันเป็นพระมหาเจดีย์ใหญ่และมีความงดงามตระการตามากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สูง 6 ชั้น ยอดฉัตรทองคำ มีความกว้าง ยาว และ สูงอย่างละ 101 เมตร รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็ก 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ บนยอดภูเขาเขียวสามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม เป็นศูนย์รวมจิตใจและพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวร้อยเอ็ด องค์พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างแบบขององค์พระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม แต่ละชั้นของพระมหาเจดีย์ถูกตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นแหล่งประดิษฐานรูปเหมือนสลักด้วยหินทรายของพระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต และ พระสุปฏิปันโนจำนวน 101 องค์ รวมทั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานซึ่งเก็บรวบรวมอัฏฐะบริขารของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์อีกด้วย
ภายในพระมหาเจดีย์มีทั้งหมด 6 ชั้น คือ

  • ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่โออ่า ใช้เป็นห้องเอนกประสงค์ และประชุมบำเพ็ญบุญ
  • ชั้นที่ 2 เป็นศาลาประชุมสงฆ์ ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ
  • ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถ และประดิษฐานรูปพระคณาจารย์ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
  • ชั้นที่ 4 เป็นชั้นชมวิว ชมทัศนียภาพรอบภูเขาเขียว
  • ชั้นที่ 5 เป็นชั้นพิพิธภัณฑ์
  • ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสูงสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  •                                                                     

วัดป่ากุ้ง

วัดป่ากุ้ง

                                                                                                                                                                          วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ วัดนี้มีชื่อทางการว่า วัดประชาคมวนาราม สร้างโดยหลวงปู่ศรี มหาวีโร มีเจดีย์ขนาดใหญ่ทำจากหินทรายธรรมชาติเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เหตุที่หลวงปู่ศรี ท่านมีดำริให้สร้างพระเจดีย์หิน เนื่องจากเมื่อพ.ศ. 2531 หลวงปู่ได้ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ มหาเจดีย์บุโรพุทโธ หรือ โบโรบูโดร์ และได้ประทับใจในความยิ่งใหญ่อลังการของมหาเจดีย์แห่งนี้ จึงได้เล่าให้คณะศิษย์ฟัง ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2535 การก่อสร้างจึงเริ่มขึ้น จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 มีพิธียกยอดเจดีย์ทองคำแท้หนัก 101 ขึ้นประดิษฐาน ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุอยู่จุดศูนย์กลางของเจดีย์ ผนังแกะสลักเรื่องราวพระพุทธประวัติและเวสสันดรชาดก รวมทั้งประวัติของหลวงปู่ศรีและรูปบูรพาจารย์บรรยากาศในวัดประชาคมวนาราม เช้าวันนี้เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าจังหวัดนครพนม ซึ่งแน่นอนว่าสามารถจะใช้เส้นทางหลากหลายทางมาก เราเลือกใช้เส้นทางประทาย พยัคฆภูมิพิสัย มุ่งหน้าจังหวัดร้อยเอ็ด ถึงเขตอำเภอศรีสมเด็จ อันเป็นที่ตั้งของวัดประชาคมวนาราม หรือที่ชาวบ้านจะเรียกสั้นๆ ว่าวัดป่ากุง สถานที่ที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร เคยจำพรรษาอยู่ที่นี่และเป็นผู้ริเริ่มสร้างเจดีย์หิน จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ช่วงเวลาที่มาถึงที่นี่พระอาทิตย์ยังไม่โผล่ขึ้นมาจากขอบฟ้า พอจะมีเวลาให้เราสามารถเก็บภาพพระอาทิตย์ขึ้นจากมุมสวยๆ สักแห่ง เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย เปิดทริปการเดินทางไหว้พระธาตุประจำวันเกิดของเรา 
ระยะทางเพียงประมาณ 5 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 2045 พยัคฆภูมิพิสัย - ร้อยเอ็ด ทำให้เราเลือกวัดป่ากุง เพื่อเป็นสถานที่แรกของทริปการเดินทางและเป็นสิริมงคลแก่สมาชิกร่วมทริปทุกๆ คน เมื่อเราเข้ามาถึงบริเวณวัดในช่วงเวลารุ่งสาง พระสงฆ์ในวัดออกมากวาดลานวัดเก็บใบไม้ ทำความสะอาดวัด ก่อนที่จะเตรียมตัวออกบิณฑบาตรโปรดชาวบ้าน ตรงหน้าซุ้มประตูโขงทางเข้าวัดมีป้ายเขียนว่า เจดีย์หิน แต่เรายังไม่ไปที่นั่น เราขับเข้ามาตามเส้นทางในวัดจนถึงบริเวณศาลาเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่ศรี มหาวีโร ภายหลังการมรณภาพของพระเกจิอาจารย์สายวิปัสนา พระเทพวิสุทธิมงคลหรือหลวงปู่ศรี แห่งวัดประชาคมวนารามหรือวัดป่ากุง เหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ ได้สร้างเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่ศรี เป็นเจดีย์กลางน้ำ มีน้ำพุ 2 ข้าง อย่างสวยงาม เป็นที่ตั้งสังขารของหลวงปู่ ให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปที่ศรัทธาหลวงปู่ ได้มาสักการะสังขาร
เจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่ศรี อยู่ข้างศาลาธรรมหลังใหญ่ ที่ทุกๆ เช้าจะมีประชาชนนำเอาภัตตาหารเดินมาถวาย เป็นภาพที่ชินตาของผมในสมัยเด็กๆ แต่ช่างหาดูได้ยากในทุกวันนี้ รุ่งอรุณยามเช้าของเราจึงได้มายืนรอเก็บภาพพระอาทิตย์ที่กำลังทอแสงสว่างแรกของวันกันที่เจดีย์กลางน้ำหลังนี้ดีย์หิน เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นพร้อมๆ กันกับพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตามดำริของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่มีความประทับใจจากการเดินทางไปที่เจดีย์บูโรพุทโธ การสร้างเจดีย์หินจึงใช้แบบจำลองมาจาก เจดีย์บูโรพุทโธ แต่สร้างด้วยหินทรายทั้งหมด เป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ผมเองไม่เคยเห็นของจริง เลยไม่สามารถบอกได้ว่าเล็กกว่าหรือใหญ่กว่า และเหมือนมากน้อยแค่ไหน แต่การมีเพียงแห่งเดียวในประเทศ ก็สร้างความประทับใจที่ได้มาเป็นอย่างมาก รอบบริเวณเจดีย์หิน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ชั้นในปลูกโป๊ยเซียนทั้งหมด จากนั้นก็เป็นสนามหญ้า

พระเจดีย์มิ่งมงคล

พระเจดีย์มิ่งมงคล

                                                                                                                                                                     พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วรารามตำบลผาน้ำย้อยอำเภอหนองพอกจังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะ เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสม กันระหว่างพระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วยสีทอง เหลือง อร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำ เป็น 109เ มตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหา เจดีย์เหมือนอยู่บน วิมานแดนสวรรค์                                                                                  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสมถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรีเคยบำเพ็ญธรรมมา 
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระเจดีย์นี้สร้างมานานกว่า 18 ปี จนปัจจุบันนี้ยังสร้างไม่เสร็จ ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีกธาตุและพระสาวก


เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน
                                                                                                                                                                        เชียงคาน เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงสุดชายแดนไทย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่คงยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ แห่งนี้ กำลังเป็นที่สนใจ ของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  ภาพบ้านเก่าๆที่เรียงรายติดกันอยู่ริมถนนชายโขง ดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายรุ่นต่าง หลั่งไหลเดินทางกันมาที่นี่ บ้านเรือนที่เมืองเชียงคานจะแบ่งออกเป็นซอย เล็กๆ เรียกว่า ถนนศรีเชียงคาน ขนานคู่กันไปไปกับถนนใหญ่ ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มตั้งแต่ถนนศรีเชียงคาน ซอยที่ 1- 24  แบ่งเป็นถนนศรีเชียงคานฝั่งบนกับฝั่งล่างซึ่งชื่อซอยเหมือนกันถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง คือ ถนนเส้นที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่าแก่ ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้าเก๋ มากมายซึ่งถนนในเส้นนี้ จะเรียกว่า "ถนนชายโขง" ซึ่ง ระยะทางกว่า  2 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว นิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศ ถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทาง เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง เพราะต้องการอนุรักษ์ สภาพแวดล้อม บริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเป็นการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน แต่ถึงแม้บ้านไม้เก่าๆ ถึงแม้ถูกดัดแปลง ให้เป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บ้านพักโฮมสเตย์ไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรความ สงบเรียบง่ายของวิถีชีวิต รอยยิ้มที่ แสนจะจริง ของผู้คนในเมืองนี้ ยังคงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เมืองเชียงคานแตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ                                                                                   1. ปั่นจักรยานชมบ้านไม้เก่าแก่โบราณ ร้านค้าแนวๆ
เชียงคาน เป็นเมืองเล็กมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจักรยานจึงเป็นพาหนะยอดฮิตของใครหลายๆคน มาเที่ยว เชียงคาน ต้อง มาปั่นจักรยาน เพราะทำให้เรารู้จักและสัมผัสกับเสน่ห์ของเชียงคานได้มากยิ่งขึ้น การปั่นจักรยาน ไปตามตรอกซอกซอยชมบ้านไม้ เก่าๆ ที่บางส่วนก็ถูกดัดแปลงให้เป็น ที่พักแบบโฮมสเตย์  ร้านค้า ร้านกาแฟ แถมได้ทักทายยิ้มแย้มทำความรู้จักกับชาวบ้าน ปั่นไปมาเพียงแค่วันเดียวก็เกือบรู้จักกันเกือบทั่งซอย เพราะที่นี่ เป็นเมืองที่เล็กที่มีแต่รอยยิ้มและมิตรภาพ การปั่นจักรยานเป็นอีกหนึ่ง กิจกรรมที่ได้ปลดปล่อยอารมณ์ไปพร้อม กับเรียบง่ายของเมืองเล็กๆ แสนสงบแห่งนี้  น้อยนักที่เราจะสามารถ ปั่นจักรยานและปล่อย เวลาให้เดินช้าลงแบบ ไม่ต้องเอาเรื่องอื่นใดมาใส่ให้หนักสมอง เพราะเราจะเห็นแต่รอยยิ้มอันอบอุ่นของชาวบ้านและ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่ง บนแคร่ไม้หน้าบ้าน คอยทักทายเราตลอดเส้นทาง ได้ออกกำลังกายไปในตัวรับอากาศบริสุทธ์แบบห่างไกล มลพิษอีกด้วย                                                                                                                 2.ตักบาตรข้าวเหนียวในยามเช้า 
วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคานก็คือ ชาวบ้านเกือบทุกหลังจะลุกขึ้นมาตักบาตรข้าวเหนียวแต่เช้าตรู่ ถือเป็น ประเพณีที่มีมานาน แล้ว  ซึ่งจะปฎิบัติกันแทบทุกบ้าน ตอนเช้าๆ เราจะเห็นผู้เฒ่า ผู้แก่ จะอาบน้ำแต่งตัวตั้งแถว เรียงกันยาวไปตามริมถนน เพื่อมารอพร ะบิณฑบาตรแต่เช้า ด้วยความศรัทธา วิธีการตักบาตร คือ หยิบข้าวเหนียว จากกระติ๊บมาหยิบกำมือ  เหมือนกับเราตักข้าวสวย แล้วตักใส่บาตรพระ จนครบทุกองค์ ซึ่งหากเรามาพักที่ โฮมสเตย์ใน แต่ละที่ก็จะมีการเตรียมข้าวเหนียวไว้ให้เราสำหรับตักบาตร ด้วยเช่นกัน
4.ชิมอาหารพื้นเมือง 
- ข้ามเปียกเส้น ตั้งอยู่หน้าปากซอย 12 (เดิมอยู่ซ.10) ตรงข้ามวัดป่ากลาง เปิดขายตั้งแต่ 06.00-20.00 น. 
เมนูเด่นมือเช้าของเมืองเชียงคานที่ไม่ควรพลาด ข้าวเปียกเส้น รสชาติเส้นจะนุ่มและเหนียวนิด น้ำซุปอร่อยเข้มข้น ที่นี่มีเมนูให้เบือกรับประทานหลายอย่าง  ทั้งโจ๊ก เกาเหลาเลือดหมู
- ลุกโภชนา ตั้งอยู่ในถนนศรีเชียงคาน ซ. 9  เปิดขายตั้งแต่ 07.00-21.00 
เป็นร้านอาหารเก่าแก่ ที่ขึ้นชื่อของเชียงคานมีหลากหลายเมนูเด็ดให้เลือกมากมาย มื้อเช้า มีโจ๊ก เกาเหลา ต้เลือดหมู  ขนมจีบ  ต้มจืดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเมนูปลาแม่น้ำโขง ต้มยำ น้ำข้น น้ำไสปลาคังลวกจิ้ม เป็นต้น
- ข้าวปุ่นน้ำแจ่ว
หรือ ขนมจีนน้ำใส เป็นอีก 1 เมนู ที่จะพบเจอได้เฉพาะเชียงคานเท่านั้น เพราเป็นอาหารพื้นเมืองของที่นี่ ข้าวปุ่นน้ำแจ๋ว ส่วนประกอบ ของข้าวปุ้นน้ำแจ๋วที่แตกต่างจากขนมจีนทั่วไป เช่นมีเครื่องในหมู ตับ ไต ไส้ พุง ที่ต้มจนสุกแล้ว ประเภทผักๆก็มีผักบุ้ง กระล่ำปี ถั่วฝักยาว งอก สาระแน ต้นหอมสด และที่สำคัญจะขาดไม่ได้ เลยคือน้ำชุบใส แต่ละร้านของที่นี่ก็จะมีรสชาติแซบ แตกต่าง กันไป ว่ากันว่าถ้าใครได้มาเยือนเชียงคาน ถ้าไม่ได้ชิมข้าวปุ้นน้ำแจ๋วย่ามเช้า ก็เท่ากับว่าไม่ถึงเชียงคาน ซึ่งส่วนใหญ่จะ เปิดใน ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00 – 11.00 นของก็ จะเริ่มหมดแล้ว เพราะฉะนั้้ใครอยากกิน ต้องไปแต่เช้า  ที่เชียงคานมีร้านข้าวปุ่นน้ำแจว หลายร้าน ได้แก่ ป้าอ๋อยข้าวปุ้นน้ำแจ่ว (ซอย 5 บน), ป้านางข้าวปุ้นน้ำแจ่วชอย 6, ป้าลี่ ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ซอย 14 ข้างวัดมหาธาตุ
- จุ่มนัวยายพัด ตั้งอยู่ในถนนศรีเชียงคาน ซ. 10 เปิดขายตั้งแต่ 08.00-15.00 น. 
ร้านเก่าแก่อีกหนึ่งร้าน ที่เปิดมานานกว่า 40 ปี มีเมนูเด็ด คือ ข้าวเปียกเส้น และหมี่กระทิ สำหรับมื่อเช้า ตกเที่ยง แวะมากินจุ่มนัว และขนามจีนน้ำยา 
5.พูดคุยทักทายชาวบ้าน
มาเชียงคานนอกจากเราจะได้ซึมซับกับบรรยากาศเก่าแก่ ร้านค้าเก๋ๆแล้ว การได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองได้ ทักทายนั่งคุยกับ ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ เป็นความรู้สึกอบอุ่นใจอีกอย่างหนึ่งที่เราสัมผัสได้ เมื่อมาเที่ยว เชียงคาน ชาวบ้านที่นี่ มีน้ำใจและเป็นมิตร ไม่ว่าจะเดินผ่านไปยังบ้านหลังใด ก็จะเห็นประตูบ้านเปิดกว้าง เพื่อเตรียมรับแขกหรือเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงเสมอ  ภาพชาวบ้านนั่งพูดคุยกันเป็นกลุ่มอยู่หน้าบ้าน และทักทาย เราด้วยรอยยิ้มพูดคุยอย่างเป็นกันเองเสมอ ให้ความรู้สึกเหมือนเรา ได้กลับมาเยี่ยมบ้าน เยี่ยมญาติผู้ใหญ่
6.นวดผ่อนคลายที่เชียงคาน
มาเชียงคานนอกจากเราจะได้ซึมซับกับบรรยากาศเก่าแก่ ร้านค้าเก๋ๆแล้ว การได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองได้ ทักทาย นั่งคุย กับชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ เป็นความรู้สึกอบอุ่นใจอีกอย่างหนึ่งที่เราสัมผัสได้ เมื่อมาเที่ยว เชียงคาน ชาวบ้านที่นี่ มีน้ำใจและเป็นมิตร ไม่ว่าจะเดินผ่านไปยังบ้านหลังใด ก็จะเห็นประตูบ้านเปิด กว้าง เพื่อเตรียมรับแขกหรือเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงเสมอ  ภาพชาวบ้านนั่งพูดคุยกันเป็นกลุ่มอยู่หน้าบ้าน และทักทาย เราด้วยรอยยิ้มพูดคุยอย่างเป็นกันเองเสมอ ให้ความรู้สึก เหมือนเราได้กลับ มาเยี่ยมบ้าน เยี่ยมญาติผู้ใหญ่ และนี่ คงเป็นเสน่ห์ ของเชียงคาน ที่ไม่เหมือนที่ใด ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจและต้องกลับมาที่นี่ อีกหลายครั้ง

นาแห้ว

นาแห้ว

3 DEW_6623
                                                                                                                                                                     ” ถิ่นกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เลื่องไกลพระธาตุดินแทน สุดแดนสยามเมืองหนาว เมืองแห่งหุบเขากระชายดำ เลิศล้ำวัฒนธรรมประเพณีริมเหือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองวัดโพธิ์ชัย ผู้คนแจ่มใสน้ำใจดีงาม “คำขวัญของนาแห้ว อีกหนึ่งอำเภอของจังหวัดเลยที่ได้ยินชื่อมานาน เคยรู้จักความสวยงามของอำเภอนี้เมื่อหลายปีจากหนังสือท่องเที่ยวเล่มหนึ่ง ยังจำภาพนาข้าวสีเขียว ผู้เฒ่าผู้แก่เดินถือปิ่นโตผ่านทุ่งนาไปทำบุญที่วัด ภาพอันเป็นธรรมชาติขอุทยานแห่งชาตินาแห้วซึ่งในปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ภูสวนทราย  รู้สึกว่าเมืองนี้เป็นเมืองน่าเที่ยวจังงดงามไปด้วยเรื่องราวและวิถีชีวิตอันสงบ จากภาพนั้นได้ปักหมุดอำเภอนาแห้วไว้ในดวงใจที่คงต้องหาโอกาสไปเยือนด้วยตัวเองให้ได้ซักครั้ง มารู้จักอำเภอเล็กๆแห่งนี้ด้วยกันค่ะ 
ฉันเลือกเดินทางมาเที่ยวนาแห้วในช่วงฤดูฝนประมาณปลายเดือน ก.ย. เพราะอยากได้บรรยากาศของความเขียวขจีของนาข้าว ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพทำนาโดยฤดูทำนาจะอยู่ในช่วงเดือนก.ย. –ต.ค.  กว่า  2 ชั่วโมง จากตัวเมืองเลย ผ่านเส้นทางภูเขาคดเคี้ยว ก็เข้าเขตอำเภอนาแห้ว จะเรียกได้ว่าที่ตั้งของเมืองนี้อยู่สุดชายแดนและห้อมล้อมไปด้วยหุบเขา บรรยากาศจะคล้ายกับ อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ ระหว่างทางเราจะเห็นป้ายน่ารักสีสันสะดุดตา เขียนว่า “ ฮอดนามาลาแล้วก๋อ” แปลว่า มาถึง นามาลา แล้ว ตอนแรกก็แอบงงป้ายแปลว่าอะไร นามาลา คือ อะไร เป็นอีกชื่อหนึ่งของ นาแห้ว หรือเปล่า ถามคนท้องถิ่น จึงทราบว่า นามาลา เป็นชื่อ ตำบลหนึ่งใน อ.นาแห้ว ซึ่งแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล ชื่อช่างเท่ห์ดีแท้ขับรถเข้าตัวอำเภอมาเรื่อยๆมาถึงสถานที่สำคัญแห่งแรก นั่นคือ วัดโพธิ์ชัย เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศริอยุธยาและเป็นวัดสำคัญที่อยู่ในคำขวัญของอำเภอนาแห้วอีกด้วย วิหารของวัดสร้างแบบเรียบง่ายเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กับโครงสร้างไม้ ก่ออิฐฉาบปูน หลังคามุงแผ่นไม้หรือแป้นเกล็ดที่ปัจจุบันหาชมได้ยาก มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ที่ประตูทั้งสามทิศมีสัตว์หิมพานต์หมอบอยู่ด้านละ 1 คู่


ภูห้วยอีสัน

ภูห้วยอีสัน

ภูห้วยอีสัน
                                                                                                                                                                     ภูห้วยอีสัน ตั้งอยู่ใน ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นจุดพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกได้แบบ กว้างไกลสุดตา ถือเป็น จุดชมทะเลหมอกสุด Unseen ที่สวยงามอีกจุดหนึ่งของหนองคาย  เบื้องล่างของทะเลหมอกภูห้วยอีสันสามารถมองเห็นเกาะแก่ง ของแม่น้ำโขงซึ่งหากวันใดที่สายหมอกบางเบาสามารถมองเห็นวิวพระอาทิตย์สีทองในยามเช้าสะท้อน ไปยังพื้นน้ำและเกาะแก่ง ได้ชัดเจน โดยระหว่างเส้นทางสามารถชมทะเลหมอกได้ประมาณ 2 จุด คือ จุดชมวิวสูงสุดที่เป็นพื้นที่ของ อ บ ต บ้านม่วง และอีกหนึ่งจุด คือ พื้นที่ของครัวไม้น้ำซึ่งจะอยู่ถัดลงมาด้านล่าง ซึ่งแต่ละจุดก็มีมุมมองที่สวยงามต่างกัน ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เวลา 05.30 น.- 08.00 น.การเดินทางไปชม ทะเลหมอกภูห้วยอีสัน ไม่อนุญาติให้นักท่องเที่ยวนำรถส่วนตัวขึ้นไปให้จอดรถไว้ข้างล่าง จากนั้นให้ใช้บริการ รถอีแต๋นของชาวบ้านขึ้นไป โดยต้องมายังจุดนัดพบซึ่งมีให้เลือกขึ้นรถ 2 จุด คือ หน้าอ.บ.ต. บ้านม่วง โทร 042 414 871 087 219 5500 อีกจุด คือ ครัวไม้น้ำ 085-0017411 ซึ่งทั้งสองแห่งจะแยกออกจากกัน หากใช้บริการรถอีแต๋นโดยขึ้นที่ อ บ ต บ้านม่วง รถจะพาขึ้นไปยัง จุดชมวิวสูงสุดซึ่งเป็นพื้นที่ดูแลโดย อ บ ต บ้านม่วง หลังจากนั้นก็ค่อยเดินเท้าลงมายังจุดชมวิวของครัวไม้น้ำก็ได้ แต่ถ้าใช้บริการ รถของครัวไม้น้ำ รถก็จะพาขึ้นไปชมวิวยังจุดชมวิวของครัวไม้น้ำซึ่งอยู่ถัดลงมาข้างล่าง ส่วนนักท่องเที่ยวท่านใด ต้องการขึ้นไปยังจุดชมวิวสูงสุดของ อบ ต บ้านม่วง ต้องเดินขึ้นไปเองซึ่งค่อนข้างชันพอสมควร หรือจะอาศัยรถอีแต๋นที่วิ่งผ่านไป มาขึ้นไปก็ได้แต่ตอนกลับ หากมารถของบ้านม่วงก็ต้องกลับรถของบ้านม่วง แต่ถ้าขึ้นรถของครัวไม้น้ำก็ต้องกลับรถของครัวไม้น้ำ โดยสามารถไปรอขึ้นรถยังที่ทำการทั้งสองแห่งได้เลยมีรถออกตลอดเวลา

วัดป่าภูก้อน

วัดป่าภูก้อน

                                                                                                                                                                       วัดป่าภูก้อน...ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นรอยต่อ 3 จังหวัด คือจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งจุดประสงค์หลักของการสร้างวัดคือต้องการปลูกป่าทดแทนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมกว่า 750 ไร่ รวมถึงการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัด เพื่อใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามระเบียบของกรมป่าไม้ และได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน จนวัดแห่งนี้ได้รับขนานนามว่า "พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน"    
          ด้วยอาณาเขตความกว้างของวัด ประกอบกับที่กรมป่าไม้ให้วัดป่าภูก้อนได้ดูแลงานด้านป่าไม้ จนทำให้วัดป่าภูก้อนแห่งนี้มีเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ เพื่อรักษาป้องกันไฟป่าและการบุกรุกทำลายป่าล่าสัตว์ อีกทั้งวัดป่าภูก้อนยังมีความเงียบสงบ จึงเหมาะสำหรับเป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนการสร้างพระมหาเจดีย์นามว่า "พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์" เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานในสถานที่อันสมควรสักการะ
      
  สำหรับไฮไลท์อันเป็นเอกลักษณ์ของวัดป่าภูก้อน คือโครงสร้างการออกแบบทางสถาปัตยกรรมขององค์พระพุทธรูปหินอ่อน พระวิหาร ศาลาราย และอาคารรอบลานเขา โดยพระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สมัยรัตนโกสินทร์ 

 ภาพภายในพระวิหารตกแต่งด้วยพุทธประวัติ พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนีหินอ่อนสีขาว ความยาว 20 เมตร เป็นหินอ่อนที่มีความสวยงามและทนทานที่สุด รวมระยะเวลาในการสร้างทั้งหมด 6 ปี เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ พระพุทธไสยาสน์นี้จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศิลป์ของรัชกาลที่ 9

        วัดป่าภาคอีสานแห่งนี้จึงมีความน่าสนใจ ทั้งในด้านโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงพุทธศิลป์ที่ร่วมสมัย ขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งรสพระธรรมคำสอนสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้ที่ต้องการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ขัดเกลาจิตใจอีกด้วย หากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะเวียนไปสัมผัสกันดูนะคะ

ทะเลบัวแดงง

ทะเลบัวแดง

ทะเลบัวแดง บึงหนองหานกุมภวาปี เที่ยวอุดรธานี
                                                                                                                                                                       ทะเลบัวแดง บึงหนองหานกุมภวาปี ชมทุ่งดอกไม้ตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความอุดมสมบูรณ์ที่ควรค่าแก่การศึกษา .. เราๆ ท่านๆ คงเคยได้ยินชื่อของ “หนองหาน” กันมานานนม แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่สับสนหรือยังไม่รู้ว่าในภาคอีสานของเรานี้ ก็มีทั้ง “หนองหาน” สถานที่สำคัญประจำ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และ “หนองหาร” หนองน้ำใหญ่ที่มีตำนานผาแดงนางไอ่ และความเชื่อเรื่องพญานาค ใน จ.สกลนคร ที่ยังคงเล่าขานต่อเนื่องกันมา จนถึงทุกวันนี้หนองหาน ที่เราจะพาไปเที่ยวคราวนี้ คือ ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน อ.กุมภวาปี กับบางส่วนในพื้นที่ อ.ประจักษ์ศิลปาคมของ จ.อุดรธานี ความอุดมสมบูรณ์ของบึงหนองหานถือเป็นต้นแบบที่น่าสนใจต่อการศึกษาระบบ นิเวศน์วิทยา เพราะที่นี่ชัดเจนความสัมพันธ์ระหว่างพืชพรรณและสัตว์ กลับคืนมาเป็นผลิตผลให้ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวเลี้ยงชีพและหล่อเลี้ยงชุมชนจน เป็นภาพวิถีชีวิตของชาวหนองหานมานานปี กาลเวลาผ่านไปวิถีชาวบ้านกลายเป็นความงดงามตามธรรมชาติในยุคที่ผู้คนโหยหา สิ่งที่เลือนหาย ในขณะที่ความอุดมสมบูรณ์ของบึงหนองหานยังคงอยู่ วงจรชีวิตของ บัวแดง หรือ “บัวสาย” ที่บึงหนองหานจึงเป็นประจักษ์พยานถึงความอุดมสมบูรณ์ที่ควรค่าแก่การศึกษา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมบัวแดงที่บึงหนองหานจึงงอกงามทั่วท้องน้ำไปไกล สุดลูกหูลูกตานับเป็นหมื่นๆ ไร่ (นี่ยังไม่ถึงครึ่งของบึงเลยด้วยซ้ำ) เพื่อที่การชม ทุ่งทะเลบัวแดง แหล่งชมทุ่งดอกไม้ตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จะได้เต็มอิ่มและเพลิดเพลินกว่าการนั่งเรือชมความงามอย่างเดียวเรามาสัมผัส ทะเลบัวแดง หนองหานภุมภวาปี ตามคำบอกเล่าของคนที่มาก่อนเรา และหอบความประทับใจกลับไปบอกต่อ และด้วยความที่ได้รับการโปรโมทจากททท.ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนแหล่ง ใหม่เริ่มจะคุ้นเคยในหมู่นักท่องเที่ยว ด้วยความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของดอกบัวที่ธรรมชาติรังสรรค์ เมื่อสีแดงอมชมพูของดอกบัวเบ่งบานขึ้นพร้อมๆ กัน ก็จะกลายเป็นภาพความงามอันวิจิตรสุดลูกลูกตาราวกับเนรมิตบนผืนผ้าใบ ขณะที่บรรยากาศโดยรอบบึงหนองหาน ก็สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติด้วยพันธุ์ปลาน้ำจืด สายพันธุ์นกท้องถิ่น และพืชน้ำอีกจำนวนมากอันเป็นหัวใจของระบบนิเวศน์ที่หล่อเลี้ยง ทะเลบัวแดง และวิถีชุมชนให้ยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้
หากเราเป็นคนต่างถิ่นที่หลงเข้าไปใน อำเภอกุมภวาปี ช่วงราวๆ กลางเดือน – ปลายเดือนธันวาคม ของทุกปี เราอาจพบเห็นชาวบ้านกลุ่มใหญ่ของ ต.บ้านเดียม มาออกันอยู่เนืองแน่นบึงหนองหาน ก็เพราะในช่วงนี้ของทุกปีจะเป็นช่วงใกล้เวลาที่บึงหนองหานจะเปิดบ้านต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่หลั่งใหลกันมาล่องเรือชม “ทะเลบัวแดง” ชาวบ้านเขาจึงเตรียมความพร้อมบึงหนองหานด้วยการร่วมแรงร่วมใจระดมเก็บ สาหร่ายกลางพื้นที่นับหมื่นไร่ เพื่อให้ดอกบัวแดงโผล่พ้นน้ำเบ่งบานงดงามอวดนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ใน ช่วงปีใหม่ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์นั่นเอง
ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนมีนาคม ของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหาน ซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยในเดือนตุลาคมบัวจะเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อยๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม และเข้าสู่ช่วง “บัวเน่า” หรือช่วงที่บัวเก่าล้มตายกลายเป็นอาหารของบัวชุดใหม่ ช่วงนี้เองจะมี “บัวหลวง” เข้ามาผลัดเปลี่ยนให้ความงามที่ต่างออกไป แต่ชาวบ้านจะชอบใจเพราะเป็นฤดูเก็บเกี่ยวผลลิตจากบัวไปขายสร้างรายได้กลับ สู่ครอบครัว ก่อนที่บัวแดงชุดใหม่จะรอวันเติบโตแผ่ใบโผล่พ้นน้ำพร้อมกับดอกตูมให้เราตั้ง ตารอตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ช่วงเวลานั้นเองที่ถือว่าสัญญาณแห่งทะเลบัวแดงฤดูกาลใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วการเดินทางไปชม ทะเลบัวแดง เพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจอย่างคุ้มค่าควรมีการวางแผนตั้งแต่การเดินทางและเวลาที่เหมาะสมในการชม ด้วยธรรมชาติของดอกบัวสาย หรือบัวแดง นั้นจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ 11.00 น. ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงเวลาที่ดอกบัวบานสวยที่สุด หากเป็นคนท้องถิ่นอุดรนั้นจะรู้ดีว่าถ้าใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 45 นาทีก็จะถึงบ้านเดียม แต่คนต่างถิ่นที่กลัวว่าการเดินทางจะเป็นอุปสรรค ที่ต.บ้านเดียมเขาก็เตรียมโฮมสเตย์ไว้รอต้อนรับด้วยบรรยากาศและการดูแลแบบ ชาวบ้านแท้ๆ
การนั่งเรือชม ทะเลบัวแดง ที่นี่ต้องนับว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แม้จะมีเวลาให้ชมอย่างจำกัด (ราวๆ 45 นาที- 1 ชั่วโมงครึ่ง ตามแต่ประเภทของเรือที่เราเลือก) และหากดูเผินๆ เหมือนวิวรอบๆ ตัวจะมีแต่ดอกบัวสีแดงๆ แต่หากใช้หัวใจสัมผัสเพิ่มเติมจากสองตา จะเห็นความแตกต่างหลากหลายของบัวที่เติบโต เห็นนกกระสา นกกระยาง อ้อยอิ่งดิ่งขาละเลียดปลาในบึงอย่างไม่รีบร้อนเสมือนเป็นรังของมันเอง เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านเดียมที่ยังคงลอยเรือออกไปทำนา หาปลา ตัดอ้อย และหากเช่าเรือพิเศษที่มีบริการอาหารให้ทานบนเรือด้วยแล้วล่ะก็จะวิเศษสุดๆ เพราะเมนูรสแซ่บแบบอุดรทั้งส้มตำ ต้มยำปลาช่อน ตำไหลบัว จะยิ่งอร่อยขึ้นด้วยบรรยากาศที่หาจากบึงอื่นๆ อีกไม่ได้แล้วในตอนนี้และเมื่อถึงช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี ที่ดอกบัวบานชูช่อแตกกอเต็มบึง ทางจังหวัดอุดรธานี เขาจะจัดเทศกาล ทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปีขึ้นเป็นประจำ และในปีนี้ก็เช่นกัน โดยงานจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 11-13 มกราคม ด้วยกิจกรรมสนุกๆ มากมาย อาทิ การประกวดวาดภาพและภาพถ่ายทะเลบัวแดง, การประกวดวงดนตรีโปงลาง พร้อมร่วมกันสักการะพระมหาธาตุเทพจินดาหรือพระธาตุบ้านเดียม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองของชาวบ้านเดียมเพื่อความเป็นสิริมงคล และแถมท้ายให้เป็นพิเศษสำหรับคู่รักที่เตรียมจะเข้าพิธีวิวาห์ ที่ทะเลบัวแดงเขาเตรียมจะเนรมิตบึงตระการตาให้กลายเป็นสถานที่จัดงานสมรส หมู่ที่โรมแนติกไปด้วยสีแดงอมชมพูของดอกบัวที่รับรองความหวานไม่แพ้ที่ไหนๆ ในช่วงวันวาเลนไทน์ในเดือนกุมภาพันธ์นี้อีกด้วยทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี ห่างจากจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 45 ก.ม. การเดินทางสามารถเดินทางจาก อ.เมืองอุดรธานี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-กุมภวาปี) ถึงกิโลเมตรที่ 26 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางห้วยสามพาด-อำเภอประจักษ์ศิลปาคม ประมาณ 18 กิโลเมตร นอกจากทะเลบัวแดงแล้วที่ อำเภอกุมภวาปี และสำหรับรถประจำทาง ก็สามารถนั่งรถทัวร์กรุงเทพ-อุดรธานี แล้วไปลงที่อำเภอกุมภวาปี หลังจากนั้นก็เหมารถสองแถวในอำเภอมาเที่ยวเทศกาลดอกบัวแดง ใครที่ต้องการค้างคืนก็สามารถติดต่อบ้านพักโฮมสเตย์จากชาวบ้านได้ตลอดเวลา เช่นกัน


น้ำตกแสงจันทร์

น้ำตกแสงจันทร์

                                                                                                                                                                     น้ำตกแสงจันทร์ น้ำตกลงรู หนึ่งเดียวในเมืองไทย ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งนาเมือง ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  ชื่อของน้ำตกเรียกตามลักษณะของสายน้ำที่ตกผ่านลงรูหิน ส่วนที่มาของชื่อน้ำตกแสงจันทร์นั้น เรียกตามสายธารน้ำตก ที่โปรยละออง ผ่านช่องหินลงมาเป็นสีขาวนวลคล้ายแสงจันทร์โดยเฉพาะในวันเพ็ญ ที่แสงจันทร์จะสาดส่องมาตรงรูหินพอดี พร้อมกับละอองของธารน้ำตก ที่โปรย ดูเป็นประกายสีนวลสวยงามมาก ซึ่งทั้งหมดนี้คือที่มาของชื่อและเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ ที่ยังคงเก็บความงามสงบประสานอย่าง กลมเกลือนของธรรสาเหตุของการเกิดรูขนาดใหญ่ เกิดจากการกัดเซาะของสายน้ำ โดยเมื่อมีฝนตกลงมามากๆ น้ำในลำธารตามป่าเขาก็จะมีปริมาณมาก พร้อมทั้งไหลแรงและเร็วพร้อมกันนี้กระแสน้ำก็ได้พัดพาเอาก้อนกรวด ก้อนหิน ไหลติดไปด้วยซึ่งก็จะมี ก้อนกรวดก้อนหินส่วนหนึ่ง ไหลเข้าไปติดในหลุม เมื่อกรวดหินไปติดในหลุมผนวกกับกระแสน้ำที่ไหลแรง ก้อนกรวดก้อนหินเหล่านั้นก็วิ่งวนอยู่ในหลุมทำให้หลุมที่ เป็นหินทรายซึ่งมีความแกร่งน้อยกว่ากรวดหิน ขยายตัวเป็นหลุมกว้างขึ้นเรื่อยๆ นานวันเข้าหลุมก็ทะลุกลายเป็นรูกระแสน้ำที่ไหลลงหลุม ก็เปลี่ยนมาไหลลง กลายเป็น "น้ำตกลงรู" ในที่สุดมชาติไว้ให้เป็นที่ประทับใจ                                                                                          1. รถยนต์ส่วนตัว   จากกรุงเทพฯ สู่อุบลราชธานีระยะทาง 629 กิโลเมตร คืนแรกควรพักในตัวเมืองอุบลราชธานี จากนั้นใช้เส้นทาง หมายเลข 217 เดินทาง ต่อมายังอำเภอพิบูลมัง-สาหาร ใช้เส้นทางหมายเลข 2222 มายังอำเภอโขงเจียมจาก โขงเจียมใช้ เส้นทางหมายเลข 2112 มายังผาแต้ม ระยะทางจากโขงเจียม- ผาแต้ม19 กิโลเมตร เที่ยวชม ทัศนียภาพของสายน้ำโขง ริมผาแต้มชมภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีหน่วย พิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่ที่นั่น และจากผาแต้ม เดินทางต่อมายังบ้านนาโพธิ์กลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของน้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกนาโพธิ์ และ น้ำตกลงรู ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันระยะ ทางห่างจากผาแต้มราว 18 กิโลเมตร ผาหินทรายบริเวณกลุ่ม น้ำตกเหล่านี้ถูกสายน้ำ กัดกร่อนเป็นรูปทรงงดงามแปลกตา ซึ่งเส้นทางรถยนต์สามารถเข้าถึงน้ำตกได้ แต่หากจะ เดินต่อจากลานน้ำตกเข้าไปยังลานหินระยะทาง อีกราว 1 กิโลเมตร ก็จะถึงริมผา สามารถมองเห็นแม่น้ำโขงไหล คดเคี้ยวอยู่เบื้องล่าง และระหว่างทางเดินจะผ่าน ทุ่งดอกไม้ตามลานหิน งดงามยิ่ง

ทุ่งดอกไม้ป่าดงดาทาม

ทุ่งดอกไม้ป่าดงนาทาม

                                                                                                                                                                     ป่าดงนาทามอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ติดต่อกัน 3 อำเภอคือ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานีการท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ ภูผาและแม่น้ำโขง สำหรับฤดูกาล ท่องเที่ยวของป่าดงนาทาม คือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกไม้ป่าบาน เหมาะในการชมดอกไม้ตามลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร และทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี น้ำตกที่มีน้ำมากช่วงกันยายนถึงธันวาคมและทะเลหมอกริมโขง ส่วนในช่วงเดือนฤดูแล้งมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้ง อาทิ ต้นรัง ตะแบกเลือด พุดผา ช้างน้าว และล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำโขงระหว่าง บ้านปากลา-คันท่าเกวียนป่าดงนาทาม มีจุดท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว ในลักษณะของการเดินศึกษาธรรมชาติ นอกจากพืชพรรณและดอกไม้ป่าแล้วยังมีน้ำตก ขนาดเล็กและขนาดกลางอยู่หลายแห่งซึ่งจะมีน้ำมากช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคมหน้าผาสูงในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงยังชมวิวได้สวยงามโดยเฉพาะ ทิวทัศน์แม่น้ำโขง และพระอาทิตย์ขึ้นเช่นที่ผาชนะไดซึ่งเป็นจุดที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้อ้างอิงในการกำหนดเวลาพระอาทิตย์ขึ้นนอกจากนี้ยังมีหน้าผาอื่น ๆอีกรวมถึงถ้ำต่าง ๆและการล่องเรือเที่ยวในแม่น้ำโขง
ทุ่งดอกไม้ป่าดงนาทาม
เริ่มบานอวดโฉมตามลานหินต้อนรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปลายเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตลอดเส้นทางเดินทางไปถึง จุดกางเต้นท์ของป่าดงนาทาม นอกจากนี้ยังมีทุ่งดอกไม้ป่าที่ทางอุทยานฯจัดให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม ถ่ายภาพได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วยดอกไม้ตาม ลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร และทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร
                                   

วัดสิรินธรวราภูพร้าว

วัดสิรินธรวราภูพร้าว



วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว  หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่  อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศ  บริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า  จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการมาชมและถ่ายภาพคือ ตั้งแต่เวลา 6.00.19.30 น. ซึ่งหากโชคดีก็จะได้เห็นดวงดาวมากมายเต็มท้องฟ้า อีกด้วย  แต่ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวบางท่านที่มาเก็บภาพความงดงามผ่านสายตาต้องเผื่อใจไว้เล็กน้อยนอกจากความมหัศจรรย์ของพระอุโบสถแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์ซึ่งเป็นวิวลำน้ำโขง และบริเวณด้านหลังพระอุโบสถเป็นจุดชม วิวทิวทัศน์ของฝั่งประเทศลาวและมองเห็นด่านสากลช่องเม็กอย่างสวยงามรวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่ อยู่บริเวณเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาป  โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์ตกดินเราเราจะได้เห็นพระอาทิตย์ดวงโตซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามมาก สำหรับต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง เป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือ สารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น  คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ ในตอนกลางวัน พร้อมกับที่ศิลปกรรมชิ้นนี้ ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือหันข้างไปทางทิศตะวันตก ก็เลยเหมือนเป็นฉากกั้น พลังงาน ในช่วงเวลาตอนกลางวัน แล้วจะฉายแสงออกมาในตอนกลางคืน คือเป็นการคายพลังงานออกมา  ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจาก วัดเชียงทอง ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ ส่วนตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า 2 เท่า เสาแต่ละต้นลง ลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนอ งานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ งานแต่ละชิ้นต้องคิดจากความคิดอันวิจิตรและขบคิดมาก่อนทั้งสิ้น อย่างแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุ  ตรงกลางของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของพระประธาน แต่เดิมที่คล้ายกับพระพุทธชินราช ในจังหวัดพิษณุโลก แต่มีการนำเพียงส่วนรัศมีออกไป เพื่อให้แลดูกลมกลืนกันยิ่งขึ้น พร้อมกับได้ทำฉากหลังเป็นต้นโพธิ์ โดยเบื้องบนติดด้วยแผ่นพระทองส่วนการสร้างวัดนั้น ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลด ที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการอ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่า วัดสิรินธรวราราม หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม หลังจาก พระครูกมลละสังขารไปในปี 2549 พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อไป อย่างต้นกัลปพฤกษ์ เรืองแสงเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ส่วนพระอุโบสถยังมีการแต่งเติมอยู่เรื่อยๆ
                            

หาดชมดาว

หาดชมดาว

แก่งหินงาม หาดชมดาว-17
                                                                                                                                                                          หาดชมดาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในฝั่งริมแม่น้ำ โขง ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวด้วยเป็นบริเวณที่มีหินรูปทรงสวยงามประหลาด มากมายโผล่ขึ้นในลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำลด โดยเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินได้อย่างสวยงาม และที่สำคัญยังเป็นจุดที่สามารถชมดาวยามค่ำคืนได้อย่างอลังการอีกด้วย
อันที่จริงแล้วคำว่า หาดชมดาว เป็นชื่อเรียกที่ชาวบ้านเรียกหาดทรายที่โผล่ขึ้นมากลางลำน้ำโขงในช่วงหน้า แล้ง มีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งชาวบ้านมักจะพากันมาเล่นน้ำเพื่อคลายร้อนและนั่งพักผ่อนหย่อนใจกัน บริเวณนี้ โดยถัดไปจากหาดทรายอันกว้างใหญ่ ก็จะเป็นบริเวณของแก่งหินอันสวยงามกว้างประมาณ 200 ไร่ ชาวบ้านเรียกว่าแก่งหินงาม จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นเฉพาะช่วงหน้าร้อนเท่านั้น ซึ่งก้อนหินก็จะมีรูปทรงประหลาดสวยงาม มีริ้วและลวดลายอันเกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำโขงที่ยังคงคมชัด สดใหม่ มีทั้งแก่งหิน อ่างน้ำเล็ก ๆ ลานหินกว้าง สลับกันไป ทำให้ที่นี่เป็น "มินิแกรนด์แคนยอน" ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเมืองไทย
  จากที่เป็นเพียงลานหินกว้างใหญ่ในลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นทางหาปลาของชาวบ้านที่แสนจะธรรมดา สู่การค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ที่ได้ซ่อนตัวอยู่ในอาณาจักรของหินในลำน้ำโขงแห่ง นี้ โดยมีการเล่ากันปากต่อปากว่า เขาเล่าว่า...บริเวณหาดชมดาวจะมี "หินชมนภา" ซึ่งเป็นก้อนหินรูปทรงประหลาดสวยงาม และจากจุดนี้นี่เองจะสามารถมองเห็นท้องฟ้าได้งดงามมากที่สุดทั้งในช่วงกลาง วันและกลางคืน ยามเช้าจะสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ดวงกลมโตโผล่พ้นยอดไม้ขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่าง สง่างาม และยามกลางคืนยังจะได้เห็นดวงดาวพราวฟ้าอีกหลายพันดวงนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว จุดนี้จึงเป็นจุดที่ใครไปเที่ยวหาดชมดาวแล้วจะต้องหาให้เจอ    ด้วยความที่หาดชมดาวจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ประมาณ 200 ไร่ (หมายเหตุ : ความกว้างของพื้นที่เป็นข้อมูลจากคำบอกเล่าของไกด์ท้องถิ่น) ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาตาล จึงได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นทั้งหมด 11 จุด โดยใช้ธงสีต่าง ๆ ปักไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมหาดชมดาวได้ง่ายและทั่วถึง ดังนี้
 
          1. ถ้ำตาอ้วน
          2. ถ้ำตามา
          3. ก้อนสามเส้า
          4. ช่องสาวโศก
          5. แกรนด์แคนยอนนาตาล
          6. ประติมากรรมลำน้ำโขง
          7. แก่งหินงามหรือหินชมนภา, ผาวัดใจ, ผาเดียวดาย 
          8. ช่องเบียดสาว 
          9. แอ่งม้าคอย
          10. ช่องแคบสองฝั่งโขง
          11. หาดชมดาวหรือหาดทรายขาว
  

น้ำตกเหวสุวัต

                                     น้ำตกเหวสุวัต                                                              à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ น้ำตกเหวสุวัต                                                                                                                                         อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 11 อำเภอ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา; อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี; อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก; และอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ปกคลุม 2,215.42 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นสอง ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พืชพรรณมี 3,000 ชนิด, มีผีเสื้ออยู่กว่า 189 ชนิด, นกป่ามากมายกว่า 350 ชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 71 ชนิด ซึ่งได้แก่ ช้าง เสือ ชะนี กวาง และหมูป่า พบอยู่ตามทุ่งหญ้ากว้างทั่ว ๆ ไป                     ในสมัยก่อน การเดินทางติดต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานนั้น มีอุปสรรคคือจะต้องผ่านป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายมากมายทั้งสัตว์ร้ายและไข้ป่า ผู้คนที่เดินทางผ่านป่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ขนานนามว่า ดงพญาไฟ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา ทรงเห็นว่าชื่อดงพญาไฟนี้ ฟังดูน่ากลัว จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพญาเย็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ ชาวบ้านก็ได้เข้ามาจับจองพื้นที่กัน โดยเฉพาะบนยอดเขา โดยถางป่าเพื่อทำไร่ และในปี พ.ศ. 2465 ได้ขอจัดตั้งเป็นตำบลเขาใหญ่ แต่ด้วยการที่จะเดินทางมายังยอดเขานี้ค่อนข้างลำบากห่างไกลจากการปกครองของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำบลเขาใหญ่จึงเป็นแหล่งซ่องสุมของโจรผู้ร้าย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2475 ทางราชการได้ส่งปลัดจ่างมาปราบโจรผู้ร้ายจนหมด แต่สุดท้ายปลัดจ่างก็เสียชีวิตด้วยไข้ป่า ได้ตั้งเป็นศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือจนปัจจุบันนี้[3]
หลังจากปราบโจรผู้ร้ายหมดลงแล้ว ทางราชการเห็นว่าตำบลเขาใหญ่นี้ยากแก่การปกครอง อีกทั้งปล่อยไว้จะเป็นแหล่งซ่องสุมโจรผู้ร้ายอีก จึงได้ยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเขาทั้งหมดย้ายลงมาอาศัยอยู่ข้างล่าง ป่าที่ถูกถางเพื่อทำไร่นั้นปัจจุบันคือยังมีร่องรอยให้เห็นเป็นทุ่งหญ้าโล่งๆ บนเขาใหญ่นั่นเอง
ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เล็งเห็นว่าบริเวณเขาใหญ่นี้ มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีความสวยงาม เหมาะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่มีปัญหาคือมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงได้ให้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณตำบลเขาใหญ่เดิมและบริเวณโดยรอบและได้ตราพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติขึ้น ตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2505 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้ตัดถนนธนะรัชต์แยกออกมาจากถนนมิตรภาพมายังตัวเขาใหญ่โดยถนนนี้ขึ้นมาบนเขาใหญ่แล้วจะแยกเป็นสองสาย คือไปสิ้นสุดที่น้ำตกเหวสุวัตสายหนึ่ง และไปสิ้นสุดที่เขาเขียวอีกสายหนึ่ง ซึ่งก่อนปี พ.ศ. 2525 ถนนธนะรัชต์นี้เป็นเพียงถนนสายเดียวที่จะมายังเขาใหญ่ได้
ในปี พ.ศ. 2523 ได้มีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่[4] โดยถนนนี้เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2525 ทำให้สามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น และเดินทางจากกรุงเทพมหานครใช้ระยะทางสั้นกว่า อีกทั้งเส้นทางยังชันและมีโค้งหักศอกน้อยกว่าถนนธนะรัชต์เดิม อีกทั้งยังทำให้การท่องเที่ยวในส่วนใต้ของอุทยานสะดวกขึ้น เช่น สามารถเดินทางมายังน้ำตกเหวนรกได้โดยตรง ซึ่งแต่เดิมจะต้องเดินเท้าเข้ามาจากอำเภอปากพลีแล้วเลาะมาตามหน้าผา แต่การตัดถนนใหม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปจอดแล้วเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตรก็ถึงน้ำตกเหวนรกได้แล้ว
                                                                                                                                                                                                              

ภูทอก

ภูทอก                                            สวัสดีค่ะท่านผู้ชมวันนี้ดิฉันจะพาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั่นก็คือ ภูทอก เป็น...