วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

ภูทอก

ภูทอก

                                          

สวัสดีค่ะท่านผู้ชมวันนี้ดิฉันจะพาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั่นก็คือ ภูทอก
เป็นวัดที่สวยงามมากๆ ไปชมเล้ยยย

            ภูทอก เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จ.บึงกาฬ โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไป สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียนไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้เดินแบบ ตรงทอดยาวจนถึงจุดสูงสุดของ ยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียน รอบเขาซึ่งจะได้เห็น มุมมองที่แตกต่างไปเรื่อย ๆ บันไดที่ทอดขึ้น สู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำ สัตบุรุษ ให้พ้นโลกแห่งโลกียะ สู่โลกแห่ง โลกุตระหรือโลกแห่ง การหลุดพ้นด้วย ความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16  เมษายน ของทุกปี  ในแต่ละย่างก้าวบันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4



ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า "ดงชมพู" ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกา มาอาศัย อยู่มาก จึงเรียกกันว่า "ภูรังกา" แล้วเพี้ยนมาเป็น "ภูลังกา" ในที่สุด ส่วนบนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชีรอบชั้นมีระยะทาง ประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ



ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์ จวนด้วย พื้นที่สะอาดกว้างขวาง ดูแล้วร่มเย็นมาก เหมาะสำหรับการนั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับนักแสวงบุญ หรือผู้ที่ใฝ่หาความสงบ ตลอดตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ มีที่ให้นั่งพักสำหรับความอ่อนล้า ระหว่างทางเดิน เป็นระยะ ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหารอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกและ น่าอัศจรรย์ที่สุดคล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่าง ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะ เห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่าง ชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา



ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวิที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผา สูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัส กับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี



ชั้นที่ 7 จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะ เกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ "ระวังงู" ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็น ทางอ้อมต้อง เดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่
  

วัดบูรพาภิราม

วัดบูรภาพิราม

                                ที่มา:https://www.paiduaykan.com/province/Northeast/roiet/watbhurapaphiram.html

สวัสดีค่ะท่านผู้ชม วันนี้ดิฉันจะพาไปชม วัดที่สวยงามมากในภาคอีสาน นั่นก็คือวัดบูรพาภิราม
ไปชมกันเล้ยยยยย

     วัดบูรพาภิราม ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมือง มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ประทับยืนเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้จากระยะไกล เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวร้อยเอ็ด นอกจากนี้องค์พระเจ้าใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด ตามคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดว่า "สิบเอ็ดประตูงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ไชยมงคลงามน่ายลบึงพระลานชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ"
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือพระเจ้าใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 องค์พระนั้นสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงของ องค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร ที่ฐานพระพุทธรูป องค์นี้มีห้องที่ใช้ในศาสนกิจและห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง 

ประวัติวัดบูรภาพิราม

วัดบูรพาภิรามสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบูรพาภิราม เพราะในสมัยนั้นได้ใช้เป็น สถานที่สำหรับพักค้างแรมของพ่อค้าและประชานที่อาศัยการเดินเท้าเป็นหลัก เพราะยังไม่มีพาหนะการเดินทางสะดวกเหมือนปัจจุบัน วัดหัวรอจึง เป็นจุดเริ่มของการพักแรมในคืนแรกของการเดินทางและมักเป็นจุดนัดพบกันที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระอธิการหล้าอินทว์โส ได้ขยายวัด ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เรียกชื่อวัดใหม่ว่า "วัดบูรพา" เพราะว่าตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของเมือง แต่ในเวลาต่อมาได้ เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ เพื่อความเหมาะสมว่า "วัดบูรพาภิราม" ด้านทิศตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัยเก่า นอกจากนี้ภาย ในบริเวณวัดยังเป็น ที่ตั้งศูนย์งานพระธรรมทูต โรงเรียนปริยัติธรรม และมีศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองอยู่ด้วย ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวร้อยเอ็ดถือว่าพระเจ้าใหญ่นั้นเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวร้อยเอ็ดให้มีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุขด้วยความสูงขององค์พระทำให้เกิดความเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้ จะได้อานิสงส์สูงเทียมเมฆ เทียม ฟ้าทำการสิ่งใดก็สำเร็จผลด้วยประการทั้งปวง
                                            https://www.youtube.com/watch?v=zzRCEW6rtOw

พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน

http://www.rd.go.th/mahasarakham/59.0.html

สวัสดีค่ะท่านผู้ชม วันนี้ดิฉันจะพาไปชม พระธาตุนาดูน เป็นสถานที่ที่สวยงามมากๆ
เหมาะแก่การไปถ่ายรูปและชมวิวมาก ไปชมกันเล้ยยยย

                                                                                                                                           พระบรมธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 

รายละเอียด 

      พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (จังหวัดมหาสารคาม) ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ ๓ ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง ๒๔.๔ เซนติเมตร ถอดออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนยอดสูง ๑๒.๓ เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง ๑๒.๑ เซนติเมตร ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๒๕-๒๕๒๙ ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล ๙๐๒ ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน 
มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง ๕๐.๕๐ เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๓๕.๗๐ เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๗,๕๘๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้ 
ชั้นที่ 1 คือ ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับ ด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5 เมตร มีเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็น รูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน

ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร มีเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม

ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบ

ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุ โดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ชั้นที่ 10 มีลักษณะองค์ระฆัง เป็นชั้นบัลลังก์

ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว

ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง ในส่วนชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และชั้นฉัตรยอด ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง
ทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูน ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชาภายในงานจัดให้มีกิจกรรมเวียนเทียน รอบองค์พระบรมธาตุ การบวงสรวงองค์พระบรมธาตุ การปฏิบัติธรรมวิปัสสนาการทำบุญตักบาตร สวดมนต์ฟังธรรม ขบวนแห่ ประเพณี 12 เดือน การแสดงแสง สี เสียง ประวัติความเป็นมานครจำปาศรีและการแสดงมหรสพสมโภชตลอดงาน เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.
https://www.youtube.com/watch?v=WnimFV0MImc

สะพานไม้แกดำ

สะพานไม้แกดำ

1 DEW_9109
                                                  https://www.paiduaykan.com/trave  

สวัสดี ท่านผู้ชม วันนี้ดิฉันจะไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั่นก็คือ สะพานไม้แก่นดำ
เป็นวิวธรรมชาติที่สวยงามมากๆ ไปชมกันเล้ยยยยย

                                                                                                                                                                                สะพานไม้แกดำ อีกหนึ่งสะพานไม้เก่าแก่ในบรรยากาศแบบท้องทุ่ง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดมหาสารคามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเที่ยวชม เพื่อสัมผัสของกลิ่นไอแห่งความเป็นชาวบ้านกับสะพานที่ทอดตัวยาวท่ามกลางหนองน้ำแกดำไกลสุดตากว่า  1 กิโลเมตร ท่ามกลางบึงบัวและพืชน้ำสีเขียวและความหลากทางธรรมชาติ  ถือว่าเป็นสะพานสุด unseen  อีกแห่งหนึ่ง ที่ควรค่าแห่งการเดินทางมาเช็คอิน
สะพานไม้แกดำ  ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวกว่า 50 ปี  ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ แต่ก่อนสะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ โดยหวังให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมถึงพัฒนาสะพานไม้เก่าแก่แห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ถ่ายภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับการเดินทางไปสะพานไม้แกดำ เราเริ่มต้นจากกรุงเทพโดยตั้งใน google map ให้นำทางโดยพิมพ์ว่าวัดดาวดึง หนองแกดำ ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงก็มาถึงศาลาของวัดดาวดึง  เส้นทางก่อนถึงจะเข้าไปในหมู่บ้านหากหาไม่เจอก็ถามชาวบ้านแถวนั้นก็ได้ค่ะ เรามาถึงกันแต่เช้าตรู่เพื่อตั้งใจมาเก็บภาพของพระอาทิตย์ขึ้นซึ่งพระอาทิตย์จะขึ้นฝั่งตรงข้ามกับวัด  เมื่อมาถึงก็จะเห็นป้ายและศาลเล็กๆซึ่งตั้งอยู่ข้างสะพาน ถึงแม้ที่เดินทางฟ้าจะครึ้มไปซักนิดแต่ยังถือว่าโซคดีที่พอได้เห็นพระอาทิตย์บ้างสะพานไม้ที่ทอดยาวไปยังอ่างเก็บน้ำหนองแกดำซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอแกดำ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแกดำ บ้านหัวขัว บ้านโพธิ์ศรี  เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชาวอำเภอแกดำ เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสัตว์น้ำ พื้ชน้ำ เช่น บัวแดง แหน สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น นอกจากนี้ในหน้าหนาวยังสามารถพบเห็นนกเป็ดน้ำบินหนีหนาวมาจากไซบีเรีย มาอาศัยในบริเวณหนองแกดำด้วยอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ ยังมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวแกดำโดยได้ใช้นำน้ำมาอุปโภค บริโภค ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีโครงการพัฒนาปรับปรุงหนองแกดำให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และยังใช้หนองแกดำในการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ลอยกระทง บุญบั้งไฟ  ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีการสร้างถนนราดยางข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังเห็นชาวบ้านใช้มาใช้สะพานนี้ข้ามไปมาอยู่เรื่อยๆ
 จากต้นสะพานฝั่งวัดดาวดึงพวกเราก็ค่อยๆเดินและหยุดชมความงามของสะพานรวมถึงวิวสีเขียวของพืขน้ำ ถึงแม้สะพานไม้เก่าแก่ได้รับการบูรณะใหม่ดูแข็งแรงขึ้น แต่ในความเป็นไม้เก่าที่ผสมอยู่ด้วยเวลาเดินก็ต้องระวังกันซักนิดค่ะ
 ลักษณะของสะพานคือ ใช้ไม้ปักลงไปกลางหนองน้ำและตอกด้วยตะปูเรียงกัน  สะพานจะไม่ได้ยาวเป็นเส้นตรงแต่เพียงอย่างเดียวแต่จะมีความโค้งในแต่ละช่วงดูสวยงามและอาร์ตไปอีกแบบ หากใครเคยไปเที่ยวสะพานซูตองเป้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะจะคล้ายกันเพียงแต่สะพานไม้แกดำอยู่ท่ามกลางหนองน้ำและบึงบัว ส่วนสะพานซูตองเป้อยู่ท่ามกลางแปลงนาข้าว

                                https://www.youtube.com/watch?v=Ens52n24QM8

ทุ่งดอกกระเจียว

ทุ่งดอกกระเจียว

https://travel.mthai.com/region/62374.html

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมวันนี้ดิฉันจะพาไปชม ทุ่งดอกกระเจียว เป็นวิวธรรมชาติที่น่าไปเที่ยวมากๆเลย ไปชมกันเล้ยยยย
                                                                                                                                                                           ทุ่งดอกกระเจียว ณ.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพียงปีละครั้งเท่านั้นจะเริ่มเห็นได้ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม ของทุกปี และจะเริ่มแทงหน่อออกในช่วงต้นเดือนมิถุนายน สีของดอกกระเจียว จะออกสีชมพูอมม่วง และสีขาวปัจจุบันทุ่งดอกกระเจียว มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ที่ให้ความสวยงามจากธรรมชาติ หากท่านไม่ได้มาในช่วงเวลาดังกล่าว ก็คงต้องรอในปีถัดไปเพื่อที่จะได้มาสัมผัสความงามจากธรรมชาติของดอกกระเจียวที่อุทยานฯ เป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นที่นี่ จัดว่านางเอกของอุทยานฯ และสวยงามที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ช่วงเวลาดังกล่าว ต่างแย่งกันชูช่อพริ้วไสวไปตามสายลมหนาว นอกฤดู ปูพรมด้วยผืนหญ้าสีเขียว ชุ่มช่ำด้วยหยาดน้ำค้าง อาบฉากหลังด้วยม่านสายหมอกในยามรุ่งอรุณของวันใหม่ จึงเหมาะแก่การขึ้นเยือนบนผืน ทุ่งดอกกระเจียว ขนาดใหญ่กว่า 1000 ไร่ ในยามเช้าตรู่เพราะหากสายกว่านี้บรรยากาศในการเข้าเยี่ยมสัมผัสจะแตกต่างกันราวฟ้ากับดินการเข้าไปยังทุ่งดอกกระเจียว ท่านต้องนำรถไปจอดที่ลานจอดรถขนาดใหญ่ซ้ายมือก่อนถึงอุทยานฯ 500 ม.หรือนำรถจอดบริเวณลานจอดรถที่ทางอุทยานฯ จัดให้ แล้วจึงนั่งรถสองแถวท้องถิ่นที่จอดรอรับนักท่องเที่ยวบริเวณทางเข้าอุทยานฯ เพียงท่านละ ๑๐ บาท(ทั้งขึ้นและลง) โดยรถจะจอดให้ท่านลง ณ.จุดท่องเที่ยวต่าง ๆและท่านสามารถขึ้น-ลง รถคันใด ๆ ก็ได้ โดยขากลับลงมา รถฯ จะส่งท่านยังจุดเดิมที่ท่านขึ้นครั้งแรก

การเดินทาง


ทุ่งดอกกระจียว ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพังเหยในเขต ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางสระบุรี – ชัยบาดาล ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 205 เส้นทางชัยบาดาล – เทพสถิต – ชัยภูมิ ก่อนถึงอำเภอเทพสถิต จะมี ทางแยกซ้ายมือไปป่าหินงาม อีก 29 กิโลเมตร หากเดินทางเส้นทางจาก จ.นครราชสีมา ก็จะใช้เส้นทางนครราชสีมา – เพชรบูรณ์ โดยจะวิ่งผ่าน ต.หนองบัวโคก ผ่านบ.คำปิง เข้าสู่อำเภอเทพสถิต และเลี้ยวขวาบริเวณ สามแยกเพื่อจะไปในเส้นทาง เทพสถิต – ซับใหญ่ และหากท่านมาจากตัว เมืองชัยภูมิ ก็ต้องใช้เส้นทาง ระเหว – ซับใหญ่ – เทพสถิต เมื่อออกจากตัว กิ่งอ.ซับใหญ่จะถึงทางแยกขึ้นอุทยานฯ ก่อนที่จะถึง อ.เทพสถิต

https://www.youtube.com/watch?v=yZstvPPe2TA

ปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง

https://th.wikipedia.org/wiki

สวัสดีค่ะท่านผู้ชม วันนี้ดฺิฉันจะพาไปชมปราสาทพนมรุ้ง เป็นสถานที่โบราณที่น่าไปเที่ยวมากๆเลยยย ไปชมกันเล้ยค้าาาา
                                                                                                                                                                             อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บน เขาพนมรุ้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้งนั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่าภูเขาใหญ่ ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผัง ตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงาน ก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร   ปัจจุบันปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหิน พนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์และ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วยปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะ พระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้นการที่ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือ ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดี เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของ ปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธาน ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่าพลับพลาอาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกัน ในปัจจุบันว่าพลับพลาเปลื้องเครื่องซึ่งเป็น ที่พักจัด เตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบ พิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
สะพานนาคราช 
เป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียงจำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์ กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลาน ปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้ม กากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย

                                               https://www.youtube.com/watch?v=GqRJFLpO0iE

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ บุรีรัมย์
https://travel.mthai.com/blog/59383.html

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมวันนี้ดิฉันจะพาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสาน นั่นก็คือปราสาทเมืองต่ำ
เป็นสถานที่โบราณที่น่าไปชมมากๆเลยค่ะ  ไปชมกันเล้ยยยย
                                                                                                                                                                          ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทาง ประมาณ 64 กิโลเมตร สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17  เพื่อถวายพระศิวะมีลักษณะเป็นศาสนสถาน ประจำเมืองหรือประจำชุมชน  ปราสาทหินเมืองต่ำมีรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาด เล็กกว่าทั้ง 4 มุม ลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลง อันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมี ขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็น ปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มี องค์หนึ่งมาบดบัง คำว่า เมืองต่ำไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณ สถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ ตั้งอยู่บน พื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุของปราสาทเมืองต่ำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบ ในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา" อีกด้วย
องค์ประกอบภายในปราสาทเมืองต่ำ
สระน้ำระเบียงคด
สระน้ำ 4 สระ ล้อมรอบระเบียงคดมีลักษณะเป็นรูปตัวแอล ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปถึงก้นสระ ขอบสระด้านบนแกะสลัก ด้วยหินทราย เป็นลำตัวนาคที่มุมสระสลักเป็นนาค 5 เศียร สระน้ำทั้ง 4 สระนี้ ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สระน้ำที่ล้อมรอบ ปราสาทประธานได้แสดงถึง มหาสมุทรทั้ง 4 ที่ ล้อมรอบเขาพระสุเมรุตามคติพราหมณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ลักษณะเป็นสระน้ำหักมุมฉาก อยู่ทั้ง 4 ทิศ สันนิษฐานว่าใช้กักเก็บน้ำในการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ความโดดเด่นที่สำคัญอีกอย่างคือ นาคที่ขอบสระทั้ง 4 เป็นนาคแบบเศียรโลนไม่มีแผงรัศมี ซึ่งเป็นศิลปะแบบบาปวนอย่างแท้จริง นาคนั้นไม่มีหาง ซึ่งปรายสุดของนาคจะมีเศียรจลดหัวท้าย
ภาพสลักดอกบัวแปดกลีบ
บริเวณพื้นกลางห้องภายในซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก มีการสลักเป็นลายเส้นรูปดอกบัว 8 กลับ ซึ่งอาจหมายถึงจุดกำหนดในการ ตั้งจิตอธิษฐานบูชา เทพเจ้า หรือหมายถึงการจำลองแผนผังของจักรวาล อันประกอบด้วยทิศสำคัญทั้ง 8 ทิศ

ระเบียงคดและซุ้มประตู ระเบียงคด เป็นแนวกำแพงชั้นในของโบราณสถาน ก่อสร้างด้วยหินทรายเชื่อมต่อกันโดยรอบ ล้อมรอบ กลุ่มปราสาทอิฐ ภายในห้องกว้าง ประมาณ 2 เมตร พื้นปูด้วยศิลลาแลง ที่บริเวณกึ่งกลางของระเบียบคดทุกด้านก่อสร้างเป็นซุ้ม ประตูในแนวเดียวกันกับซุ้มประตูของกำแพงแก้ว
ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทราย สลักภาพพระศิวะคู่กับ พระอุมาประทับนั่งเหนือโคนนทิ เรียกภาพตอนนี้ว่า "อุมามเหศวร"
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมเคยมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพพระกฤษณะยกภูเขา โควรรธนะ เพื่อปกป้อง คนเลี้ยงวัวและฝูงวัวให้พ้นภัยจากพายุฝน
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพเทพเจ้าประทับนั่งเหนือหงส์ สันนิษฐานว่าเทพเจ้านี้ หมายถึงพระวรุณเทพผู้รักษาทิศตะวันตก
ปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อย ระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ทับหลังเป็นหินทราย ปัจจุบันปรางค์ประธานได้ถล่มลงมาแล้วคงเหลือเฉพาะฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะอาคารใช้อิฐเป็นวัสดุ ก่อสร้างหลัก พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่า ตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย นอกจากนี้ยังได้ พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับ ซึ่งสร้างถวายพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะได้มีการขุดพบศิวลึงค์ซึ่งเป็นรูปเคารพแทน องค์พระศิวะ และพบทับหลังสลักพระศิวะ ในปาง "กัลยาณะสุนทะระมูรติ" ส่วนบนของทับหลังจำหลักภาพฤๅษีนั่งประนมมือเป็นแถว จำนวน 7 ตน
กลุ่มปราสาทอิฐ
เป็นอาคารสำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลางของตัวปราสาทเมืองต่ำ ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพและประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ประกอบ ด้วยปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันองค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง 2 องค์ กลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์นี้แสดงสัญลักษณ์แทน เขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาลปราสาทประธาน ส่วนตรงกลางคือส่วนปรางค์ประธาน ซึ่งได้ปรักหักพังเหลือเพียงฐาน
บรรณาลัย
บรรณาลัย 2 หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ อยู่บริเวณด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐ ข้างละ 1 หลัง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขและประตูทางเข้า ด้านทิศตะวันตกด้านเดียว ส่วนผนังหลังคาพังลงหมดเหลือเพียงกรอบประตูและทับหลัง จากรูปแบบของอาคาร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ ตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพ
ปราสาทประกอบ
ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถว หลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็น ภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารขอ พระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือ หน้ากาลส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมาประทับบนโคนนทิในปางอุมามเหศวร
ปราสาทเมืองต่ำเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา  8.30 น. – 16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
                                             https://www.youtube.com/watch?v=daXnmiQ_zlM

ภูทอก

ภูทอก                                            สวัสดีค่ะท่านผู้ชมวันนี้ดิฉันจะพาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั่นก็คือ ภูทอก เป็น...